หลักการอ่าน “นวนิยาย” เพื่อการเสพให้ได้อรรถรส

 นวนิยายแปลตามศัพท์ว่า “นิยายสมัยใหม่” มาจากคำว่า Novel เป็นงานเขียนร้อยแก้วที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน มีคนให้คำจำกัดความของนวนิยายไว้ต่างๆ กัน แต่ที่
ชัดเจนและง่ายที่สุดคือ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณได้อธิบายไว้อย่างสั้น ๆ ว่า
          “ธรรมชาติของนวนิยายนั้น คือเป็นเรื่อแต่ง มีตัวละคร มักใช้กลวิธีที่ทำให้ผู้อ่านแลเห็นได้ง่ายว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องสมมติ แม้จะแต่งเรื่องของบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ
ก็จะทำให้คนอ่านรู้ว่าไม่ได้เขียนเรื่องจริง แต่วิธีเจรจาของตัวละครในเรื่องจะเลียนแบบชีวิตจริงมากที่สุด วิธีเจรจาหรือการสนทนาของตัวละครนิยมให้เป็นไปตามฐานะ ตามวัย
และพยายามวาดภาพให้เห็นกิริยาอาการของตัวละครให้ชัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดำเนินเรื่อง”

          ๑. องค์ประกอบของนวนิยาย นวนิยายเป็นเรื่องเล่าร้อยแก้วที่ยึดหลักความจริงเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ เขียนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่ไม่
พยายยามแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงเป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้นเท่านั้น องค์ประกอบที่สำคัญของนวนิยายที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิง มีดังนี้
               ๑.๑ โครงเรื่อง เป็นเค้าโครงของพฤติกรรมต่าง ๆ นวนิยายแต่ละเรื่องจะมีโครงเรื่องใหญ่และโครงเรื่องย่อย โครงเรื่องใหญ่ หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาและ
ความขัดแย้งที่สำคัญของตัวละครเอก โครงเรื่องย่อย คือ เรื่องที่แทรกอยู่ในโครงเรื่องใหญ่ มีความสำคัญน้อยแต่เสริมให้มีความสนุกสนานเพิ่มมากขึ้น ในโครงเรื่องจะมีส่วน
ประกอบที่สำคัญอยู่ ๒ ประการ คือพฤติกรรมที่เป็นการกระทำของตัวละครในเรื่องและความขัดแย้งในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ความ
ขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตนเอง เป็นต้น
               ๑.๒ แก่นเรื่องหรือความคิดหลัก คือ จุดสำคัญของเรื่องที่จะเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อความคิดของผู้แต่ง แก่นเรื่องมีหลายแนวทาง เช่น แนวแสดง
ทรรศนะเป็นแนวที่ผู้เขียนเสนอความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ความแค้น ความหึงหวง ความกลัว แนวแสดงพฤติกรรม เป็นแนวที่ผู้เขียนเน้นพฤติกรรมของตัวละคร เช่น
พฤติกรรมตอบแทนบุญคุณตลอดทั้งเรื่อง
               ๑.๓ ตัวละคร คือ ผู้ที่มีบทบาทในเรื่อง จะต้องเหมือนมนุษย์หรือเทียบเท่า มีชีวิตจิตใจ แสดงอารมณ์ บทบาท คำพูด และมีกิริยาเช่นคนจริง ๆ พฤติกรรมที่ตัวละคร
แสดงออกมาต้องน่าเชื่อถือ
          ตัวละครที่สำคัญในเรื่องเรียกว่า ตัวละครเอก ตัวละครอื่นเป็น ตัวประกอบ วิธีแสดงลักษณะนิสัยของตัวละครอาจทำได้หลายวิธี เช่น ผู้แต่งบรรยายนิสัยของตัวละครเอง
จากการสังเกตภายนอก หรืออธิบายความคิดความรู้สึกภายในจิตใจของตัวละคร บางครั้งอาจใช้วิธีที่ตัวละครแสดงตัวตน ด้วยคำพูดและพฤติกรรม หรือใช้วิธีกล่าวถึงปฏิกิริยา
ของตัวละครอื่น ๆ ที่มีต่อตัวละครนั้น เพื่อเป็นเครื่องชี้ว่าเป็นบุคคลเช่นไร โดยทั่วไปแล้วตัวละครในนวนิยายแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ตัวละครที่มีมิติเดียว เป็นตัวละครที่มีลักษณะ
นิสัยประจำหรือแสดงนิสัยด้านเดียวตลอดเรื่อง เช่น ร่าเริง เศร้าสร้อย เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งเป็นตัวละครที่มีหลายมิติโดยมีลักษณะนิสัยเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์และ
สิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ตาม ตัวละครที่ดีต้องมีลักษณะนิสัยที่สมจริง
               ๑.๔ ฉากและบรรยากาศ ฉาก คือ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ใด การใช้ฉากที่มีจริงและเป็นที่รู้จักย่อม
ทำให้เรื่องมีความสมจริงมากขึ้น ฉากที่ดีควรจะสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและสร้างบรรยากาศ นอกจากนี้ควรถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง ฉากที่มีความถูกต้องตามสภาพ
ภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ช่วยส่งเสริมนวนิยายเรื่องนั้นให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามจุดอ่อนของฉากบางเรื่องทำให้คุณค่าของเรื่องนั้น
ด้อยลงไปอย่างน่าเสียดาย ผู้แต่งที่ประณีตจึงเอาใจใส่ต่อความถูกต้องของฉากเป็นอย่างยิ่ง
               ๑.๕ บทสนทนา คือ การโต้ตอบระหว่างตัวละคร บทสนทนาจะต้องช่วยสร้างความสมจริง เป็นธรรมชาติ คล้ายคลึงกับชีวิตจริงและต้องเหมาะสมกับบุคลิกลักษณะ
เฉพาะของตัวละคร
          ลักษณะของบทสนทนาที่ดีควรช่วยให้เนื้อเรื่องคืบหน้าไป ทำให้เห็นลักษณะนิสัยของตัวละครอย่างชัดเจนขึ้น และยังช่วยให้เห็นสภาพสังคม ประเพณี วัฒนธรรม
การศึกษา การปกครอง สภาพเศรษฐกิจและอื่น ๆ ประกอบไปด้วย ดังนั้น บทสนทนาจึงเป็นส่วนประกอบให้เข้าใจเรื่องราวและพฤติกรรมมากขึ้น ในการอ่านนวนิยายจะเห็นว่า
เป็นบทสนทนาจะแยกออกจากบทบรรยายหรือบทพรรณนา
               ๑.๖ ทรรศนะของผู้แต่ง คือ ข้อคิดเห็นของผู้แต่งที่ต้องการเสนอต่อผู้อ่าน ส่วนใหญ่เสนอผ่านตัวละครในเรื่อง เช่น “ดอกไม้สด” เสนอทรรศนะเกี่ยวกับผู้ดีในนวนิยาย
เรื่อง สามชาย ว่าผู้ดีที่แท้จริงคือ ผู้ที่ยังมีความประพฤติดี ไม่ว่าตะตกต่ำหรือยากจนเพียงใด เป็นต้น

          ๒. แนวทางการอ่านนวนิยาย คนส่วนใหญ่เมื่อหยิบนวนิยายขึ้นมาอ่านก็มุ่งหวังความเพลิดเพลินเป็นหลัก ไม่ได้ตั้งใจที่จะศึกษาอย่างจริงจัง แต่นวนิยายเป็นเรื่องของ
ชีวิต การอ่านนวนิยายแล้วนำมาพินิจพิจารณาแม้เพียงเล็กน้อยย่อมจะให้แง่คิดหรือบทเรียนแก่ผู้อ่านได้บ้าง การพิจารณานวนิยายนั้นจะต้องนำองค์ประกอบของนวนิยายมาเป็น
เกณฑ์ในการอ่าน ดังนี้
               ๒.๑ เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง และแก่นเรื่อง เมื่ออ่านนวนิยายเรื่องใด ๆ แล้วควรจะเล่าเรื่องย่อได้ บอกได้ว่าใช้กลวิธีใดบ้างในการดำเนินเรื่อง และรู้ว่าแก่นหรือแนวคิด
หลักของเรื่องคืออะไร โครงเรื่องนั้นต่อเนื่องหรือสัมพันธ์กันอย่างไร
               ๒.๒ ตัวละคร ตัวละครใดเป็นตัวละครเอก มีลักษณะนิสัยอย่างไร และตัวละครแต่ละตัวสร้างอย่างสมจริงหรือไม่
               ๒.๓ ฉากและบรรยากาศ ผู้แต่งจะกล่าวถึงสถานที่ ช่วงเวลา เหตุการณ์ ภูมิประเทศ หรือบรรยากาศใด ๆ ก็ตาม ผู้อ่านต้องพิจารณาความสมจริงและความถูกต้อง
ตรงกับช่วงเวลาหรือสภาพการณ์ในเรื่องนั้น ตลอดจนพิจารณาว่าฉากและบรรยากาศมีอิทธิพลต่อตัวละครหรือไม่
               ๒.๔ บทสนทนา สำนวนภาษาและกลวิธีในการแต่ง นวนิยายควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับตัวละคร เช่น วัย การอบรม ยุคสมัย เพื่อจะได้แสดงบุคลิกกับลักษณะของ
ตัวละครได้และควรแยกคำกับบรรยายกับคำเจรจาหรือสำนวนภาษาของตัวละครให้เห็นเด่นชัด
               ในแง่ของกลวิธีที่จะนำเสนอเรื่องให้มีความน่าสนใจ พิจารณาว่าผู้แต่งเลือกใช้เหมาะสมหรือไม่ เช่น อาจเดินเรื่องสลับไปมาเล่าเวลาต่างสถานที่ในเวลาเดียวกันผู้แต่ง
บรรยายเรื่องเองทั้งหมด เป็นต้น
               ๒.๕ ทรรศนะของผู้แต่ง การมองหาทรรศนะของผู้แต่งต้องมองจากส่วนต่าง ๆ ของนวนิยาย เช่น จากคำพูดของตัวละคร จากวิธีการที่ผู้แต่งบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ
จากทรรศนะของตัวเอก เป็นต้น
               ผู้แต่งนวนิยายแฝงทรรศนะไว้มากเพียงใด ผู้อ่านเองก็ต้องพิจารณาให้มากยิ่งขึ้น บางครั้งอาจเลือนลางจนทำให้อ่านงานของผู้นั้นหลายรอบก็มี อย่างไรก็ตามนักอ่านที่
ดีน่าจะลองพิจารณาว่า นวนิยายเรื่องที่ตนอ่านนี้ ผู้แต่งแฝงทรรศนะหรือปรัชญาไว้หรือไม่ และทรรศนะนั้นคืออะไร

ประโยชน์ของการอ่านนวนิยาย
          ๑. ฝึกสมาธิ การอ่านหนังสือทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องราว ถือว่าเป็นการฝึกฝนให้เกิดสมาธิได้อย่างแน่นอน
          ๒. ฝึกนิสัยรักการอ่าน การเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง ทุกตัวอักษรต้องผ่านสายตา ฉะนั้นแล้วการอ่านนวนิยาย เป็นการฝึกการอ่านภาษาไทย สังเกตตัวสะกดที่ถูกต้อง
รับรองได้ว่าวรรณยุกต์ทุกตัวสะกด ถูกต้องครบถ้วนอย่างแน่นอน
          ๓. สร้างจินตนาการ เสริมสร้างความรู้ด้านต่างๆ ของสังคม แนวอิงประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของ
แต่ละสังคมแต่ละช่วงเวลา เปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ให้กับให้กับตัวคุณเอง
          ๔. สัมผัสกับสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เรื่องราวทั้งในและนอกประเทศบางครั้งเราอาจไม่ได้มีโอกาสไปสัมผัสสถานที่นั้นได้จริง นวนิยายจะพาเราไปสัมผัส
กับสถานที่เหล่านั้น ด้วยการลงทุนแบบประหยัดมากที่สุด แต่กลิ่นอายบรรยากาศถูกบันทึกในความทรงจำอย่างครบถ้วน
          ๕. มองโลกในแง่ดี คนคิดบวกเสมอ การเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวหนังสือจะทำให้เราเข้าใจความเป็นธรรมชาติของโลกมากขึ้น ส่งผลต่อระบบความคิด และ
มุมมองในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีเมื่อกาล เวลาเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งทุกอย่างถูกแรงขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม เทคโนโลยี แทรกซึมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเช่นเดียว
กับเรื่องราวของนวนิยาย ถูกเคลื่อนที่ให้เข้าสู่โลกดิจิตอล มีผลการสำรวจว่า เด็กอายุ ๖ – ๒๔ ปี นิยมอ่านหนังสือในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น หลายเว็บไซต์จึงเปรียบเสมือนพื้นที่
กระดาษสีขาว ให้นักเขียนมือใหม่ได้แต่งแต้มสีสันในนิยายของตัวเอง ถือว่าเป็นเวทีของนักเขียนหน้าใหม่ ได้มาประลองวิชาได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ผู้บริโภคอย่างเราเลือกอ่าน
ได้หลากหลายแนว แต่ไม่ว่าความสะดวกของผู้อ่านจะเป็นไปในลักษณะของหนังสือ หรือว่าเทคโนโลยีอื่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *